วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555

End of Month Review - October

สรุปภาพรวมของบล็อก ASEAN CORNER สำหรับเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นเดือนที่ The ASEAN Corner Project  ครบรอบหนึ่งปีในวันที่ 27 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยเดือนนี้มียอดเข้าชมบล็อกรวมทั้งสิ้น 71,392 ครั้ง  อาจจะเป็นช่วงปิดภาคเรียนจึงทำให้มีจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมบล็อกลดลง

ในส่วน อันดับบทความที่มีผู้เข้าชมสูงสุดตลอดเดือนตุลาคม ได้แก่
1. ASEAN Currency                                                                            19,059    ครั้ง
2. National Costumes of ASEAN Member States                              7,754   ครั้ง
3. National Dishes of ASEAN                                                                6,748   ครั้ง
4. The National Flag of Malaysia                                                           3,532   ครั้ง
5. National Animals of ASEAN Countries  Part 1                                2,961  ครั้ง

รู้สึกดีใจที่ได้มีโอกาสแบ่งปันความรู้หลากหลายแง่มุมเกี่ยวกับภูมิภาคแห่งนี้มาตลอดระยะเวลา 1 ปีเต็ม ร่วมกับครู นักเรียน นักศึกษา รวมไปถึงผู้สนใจทั่วไปทั้งในประเทศไทยเองและอีกหลายประเทศเพื่อนบ้านของเรา

สิ่งที่ทำให้บล็อกนี้มีความต่างคงป็นเรื่องของของเนื้อหาที่นำเสนอในรูปแบบสองภาษาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  ทำให้คุณครูสามารถบูรณาการการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับอาเซียนร่วมกับรายวิชาต่างๆ ได้ ส่วนนักเรียนก็สามารถเข้ามาศึกษาด้วยตนเองได้ตลอดเวลาและบ่อยครั้งตามที่ต้องการ

สำหรับในปีที่ 2 ทาง The AC Project ก็ยังมีความมุ่งมั่นที่จะสรรหาข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับอาเซียนมานำเสนอต่อไป เพื่อให้เด็กไทยมีความพร้อมมากที่สุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเพิ่มพูนความรู้ภาษาอังกฤษ ก่อนการเปิดประชาคมอาเซียนอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ.2558

แล้วกลับมาพบกับการสรุปภาพรวมของบล็อกแห่งนี้ในเดือนพฤศจิกายนกันครับ

Kru Ekachai

วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ASEAN News Quiz - October

ASEAN News Quiz - October
รอบรู้ข่าวสารที่สำคัญทั่วภูมิภาคอาเซียนกับ The ASEAN News Quiz เดือนตุลาคม

วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Happy 1st Year Anniversary for ASEAN CORNER!

Time flies. It really does. Yes, the ASEAN Corner Project by Kru Ekachai is 1 year today! I started this blog to promote understanding and awareness of ASEAN among Thai youth and school practitioners ahead of the materialization of  ASEAN Community in 2015.

The Project is dedicated to sharing important ASEAN information to my interested audience via various online channels such as Blogger, Facebook and Twitter. Within one year this blog was able to reach more than a million page views. I’m getting goose pimples just thinking about it.

I’ve always enjoyed writing and helping Thai people to broaden their knowledge of the ASEAN region in both Thai and English. I was able to publish 139 posts in a year! I have become increasingly curious about the readers of my blog: Who are you? Where are you from? Did you enjoy the posts? Is there something else you’d like to know about ASEAN? I've put my heart and soul into my blog to create all posts that truly meet the interest of you.

Finally, I’m asking you to stay connected to the ASEAN Corner Project. More interesting things around the ASEAN region are waiting for you. And if you’ve been enjoying all of this great information about ASEAN, then please help spread the word. Tell someone else about this blog so we can walk hand in hand to the ASEAN Community 2015.

Thank you so much,  I couldn’t have made it this far without you.

Kru Ekachai

วันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Vocabulary Revision - October

มีคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่น่าสนใจจากบทความเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของอาเซียนกับประเทศภายนอก ซึ่งนำเสนอผ่านบล็อก ASEAN CORNER ตลอดเดือนตุลาคม หลายคำด้วยกัน จึงได้รวบรวมคำศัพท์เหล่านั้นมานำเสนออีกครั้งหนึ่ง เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการเพิ่มพูนความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ

alleviation (n.
Definition: making something bad such as pain or problems less severe  (การบรรเทา)
Sentence: Access to education has long been considered an important vehicle for poverty alleviation.

broaden (v.
Definition: to become wider  (ขยาย, ทำให้กว้างขึ้น)
Sentence: ASEAN-U.S. ministers agree to broaden economic cooperation.

gap (n.
Definition: an empty space between two things   (ช่องว่าง)
Sentence: Thailand has always witnessed a wide gap between the rich and the poor.

infrastructure (n.
Definition: the basic systems and services that are necessary for a country  (โครงสร้างพื้นฐาน)
Sentence: Singapore has a superior infrastructure and well-developed transport network.

manpower (n.
Definitionthe people you need to do a particular job (กำลังคน,แรงงาน)
Sentence: Brunei imports skilled manpower from other countries.

narcotic (n.
Definition: a powerful illegal drug (สารเสพติด)
Sentence: Thailand will host the ASEAN ministerial meeting on narcotics prevention and control in Bangkok.

poverty (n.
Definitionthe state of being poor (ความยากจน)
Sentence: Asian Development Bank is dedicated to combating the region's poverty in all its aspects to improve living conditions.

terrorism (n.
Definition: the killing of ordinary people for political purposes (การก่อการร้าย)
Sentence: ASEAN leaders adopted the 2001 ASEAN Declaration on Joint Action to Counter Terrorism.

trafficking (n.
Definitiondeal or trade something illegal  (การค้าที่ผิดกฎหมาย)
Sentence: Southeast Asian leaders will take steps to strengthen the fight against human trafficking in the region.



วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2555

East Asia Summit (EAS):การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก



-The East Asia Summit (EAS) is a forum held annually by leaders of, initially,   16 countries in the East Asian region. Membership expanded to 18 countries at the Sixth EAS in 2011. 

-The East Asia Summit is also known as the ASEAN Plus Six Summit.

-The first summit was held in Kuala Lumpur on December 14, 2005.

-Membership of the EAS comprises the ten ASEAN countries (Brunei, Cambodia, Indonesia, Laos, Malaysia, Myanmar, the Philippines, Singapore, Thailand, Vietnam), Australia, China, India, Japan, New Zealand, the Republic of Korea, the United States and Russia.

Sources: 

http://www.jcer.or.jp/eng/pdf/asia07.pdf

http://www.dfat.gov.au/asean/eas/index.html

วันอังคารที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ASEAN Plus Three Cooperation:ความร่วมมืออาเซียนบวกสาม

ASEAN Plus Three (APT)


• 10 ASEAN Member States + China + Japan + Republic of Korea.

• APT began in 1997.

• APT includes cooperation in the areas of food and energy security, financial cooperation, trade facilitation, disaster management, people-to-people contacts, narrowing the development gap, rural development and poverty alleviation, human trafficking, labour movement, communicable diseases, environment and sustainable development, and transnational crime, including counter-terrorism.


Source: 

วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ASEAN - Russian Federation Relations : ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับรัสเซีย


ความสัมพันธ์อาเซียน-รัสเซีย เริ่มต้นจากการที่รัสเซียได้สถาปนาความสัมพันธ์ในฐานะคู่หารือกับอาเซียนในปี 2534 (ค.ศ.1911) และพัฒนาความสัมพันธ์จนได้รับสถานะประเทศคู่เจรจากับอาเซียนในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน สมัยที่ 29 ในเดือนกรกฎาคม 2539 (1996)  ที่จาการ์ตา

ได้มีการประชุมสุดยอดอาเซียน-รัสเซีย ครั้งแรกในปี 2548 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย และทุกปีจะมีการประชุมระดับรัฐมนตรีต่อเนื่องกับการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน เพื่อกำหนดทิศทางความร่วมมือและความสัมพันธ์

ASEAN-Russian Federation. The Russian Federation became a Dialogue Partner of ASEAN in 1996 following a consultative relationship which began in 1992.

The areas of mutual interest include cooperation in biotechnology, meteorology and geophysics, microelectronics and information technology and materials science and technology. Russia is a founding member of the ASEAN Regional Forum.


References:

"ASEAN-Russian Federations relations." (Online). Available: http://www.aseansec.org/5874.htm  Retrieved 14 October 2012.

"ความสัมพันธ์อาเซียน-รัสเซีย." หนังสือบันทึกการเดินทางอาเซียน กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ (สืบค้น  14 ตุลาคม 2555)

วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ASEAN - China Relations : ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับจีน


ความสัมพันธ์อาเซียน-จีนเริ่มเมื่อปี 2534 โดยมีการจัดประชุมสุดยอดอาเซียน-จีนสมัยพิเศษ ที่นครหนานหนิง เพื่อฉลองการครบรอบ 15 ปีของความสัมพันธ์อาเซียน-จีนในปี 2549 ผู้นำอาเซียนและจีนได้ลงนามแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการจัดประชุมสุดยอดอาเซียน-จีนสมัยพิเศษ ซึ่งเป็นการกำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับจีนใน 15 ปีข้างหน้า

จีนเป็นประเทศคู่เจรจาประเทศแรกที่ริเริ่มการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน โดยได้ลงนามใน ASEAN-China Framework Agreement on Economic Cooperation ในปี 2545 ซึ่งวางเป้าหมายให้จัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีนกับประเทศสมาชิกอาเซียนเก่า(6ประเทศ) ให้แล้วเสร็จภายในปี 2553 และประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ (4ประเทศ)ให้แล้วเสร็จภายในปี 2558

อาเซียนและจีนมีความร่วมมือใน 11 สาขาหลักได้แก่ เกษตร เทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การลงทุน การพัฒนาลุ่มน้ำโขง การคมนาคมขนส่ง พลังงาน วัฒนธรรม สาธารณสุข การท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีส่วนสำคัญในการช่วยลดช่องว่างด้านการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน

ASEAN-China. China became a Dialogue Partner of ASEAN in 1996 after a consultative relationship which began in 1992The year 2006 was of special significance for China-ASEAN relations. ASEAN-China Commemorative Summit was held in Nanning in October to celebrate the 15th anniversary of ASEAN-China dialogue relations.

China signed its FTA with ASEAN in 2004 in Phnom Penh, Cambodia and has since emerged as the Southeast Asian countries' largest trading partner. The ASEAN–China Free Trade Area is the largest free trade area in terms of population and third largest in terms of nominal GDP.


ASEAN and China had agreed to cooperate on eleven priority areas of cooperation, namely agriculture, information and communication technology, human resource development, Mekong Basin Development, investment, energy, transport, culture, public health, tourism and environment.


References:
"ASEAN-China relations." (Online). Available:http://www.aseansec.org/5874.htm Retrieved 12 
October 2012.

"ASEAN-China FTA." (Online). Available:http://www.business-in-asia.com/asia/china_fta.html Retrieved 12 October 2012.

"ASEAN-China Free Trade Area." (Online). Available: http://en.wikipedia.org/wiki/ASEAN%E2%80%93China_Free_Trade_Area Retrieved 12 October 2012.

"ความสัมพันธ์อาเซียน-จีน." หนังสือบันทึกการเดินทางอาเซียน กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ (สืบค้น  12 ตุลาคม 2555)

วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ASEAN - India Relations : ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับอินเดีย


อาเซียนกับอินเดียเริ่มต้นความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการในปี 2535ในลักษณะคู่เจรจาเฉพาะด้านและได้ยกระดับความสัมพันธ์ขึ้นเป็นคู่เจรจาอย่างสมบูรณ์เมื่อปี 2538รวมทั้งยกระดับความสัมพันธ์ไปสู่ระดับการประชุมสุดยอดในปี 2545

อาเซียนและอินเดียได้จัดตั้งกองทุน ASEAN – India เพื่อใช้สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมความร่วมมือระหว่างกัน นอกจากนั้นอินเดียได้เข้าร่วมเป็นภาคีความตกลง หรือภาคยานุวัติ Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia (TAC) ในปี 2546 

อินเดียเป็นหนึ่งในสมาชิกของ East Asia Summit (EAS) ตั้งแต่ปี 2548  ในด้านการร่วมมือด้านความมั่นคง การต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ อินเดียได้รับรองแถลงการณ์ร่วมมือกับอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือเพื่อต่อต้านการก่อการร้ายสากลตั้งแต่ปี 2546 ร่วมทั้งได้เข้าร่วมในการประชุมทางด้านความมั่นคงชื่อ  ASEAN Regional Forum:ARF เมื่อปี 2539 โดยมีบทบาทสำคัญในเรื่องความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเล

India became a sectoral dialogue partner of ASEAN in 1992, which was upgraded to full dialogue partnership in 1996.The First ASEAN-India Summit was held in 2002.

Cooperation is also underway in the areas of tourism, human resource development, infrastructure, and in facilitating people-to-people contact. An ASEAN-India Business Council and a Joint Management Committee on the ASEAN-India Fund have been established.

India acceded to the Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia (TAC) on 8 October 2003 during the 2nd  ASEAN-India Summit in Bali, Indonesia.

References:
"ASEAN-India relations." (Online). Available:http://www.aseansec.org/5738.htm Retrieved 10 October 2012.
"ความสัมพันธ์อาเซียน-อินเดีย." หนังสือบันทึกการเดินทางอาเซียน กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ (สืบค้น  10 ตุลาคม 2555)

วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ASEAN - Republic of Korea Relations: ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับสาธารณรัฐเกาหลี


สาธารณรัฐเกาหลีเริ่มมีความสัมพันธ์กับอาเซียนในปี 2532 และได้รับสถานะเป็นประเทศคู่เจรจาเต็มตัวของอาเซียนในปี 2534 สาธารณรัฐเกาหลีได้เข้าเป็นภาคีความตกลง หรือภาคยานุวัติสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และได้ลงนามใน Joint Declaration on Comprehensive Partnership เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2547  เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือที่รอบด้าน ในปี 2548 อาเซียนและสาธารณรัฐเกาหลีลงนามใน  framework Agreement on comprehensive Economic Cooperation ซึ่งกำหนดให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างกัน

อาเซียนและสาธารณรัฐเกาหลีร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์อาเซียน-เกาหลีเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2551 ในการจัดตั้งศูนย์อาเซียน-เกาหลี ที่กรุงโซลเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในด้านการค้า การลงทุนและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างกัน นอกจากนี้ สาธารณรัฐเกาหลี ได้จัดตั้งกองทุน ASEAN-ROK Future Oriented Cooperation Projects (FOCP) และกองทุน ASEAN-ROK Special Cooperation Fund (SCF) เพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการความร่วมมือต่างๆ

ในปัจจุบันอาเซียนและสาธารณรัฐเกาหลีมีความร่วมมือในด้านการค้า การลงทุน การขนส่ง การท่องเที่ยว การเกษตร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านวิชาการ การรักษาสิ่งแวดล้อม สาธารณสุข การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การแลกเปลี่ยนทางด้านวัฒนธรรม และการต่อต้านการก่อการร้าย

ASEAN and the Republic of Korea first established sectoral dialogue relations in November 1989. The ROK was accorded full Dialogue Partner status by ASEAN at the 24th ASEAN Ministerial Meeting in July 1991 in Kuala Lumpur.

In 2009, which marked the 20th anniversary of the Dialogue Partnership between ASEAN and Korea, the ASEAN-Korea Center was established. It was founded in accordance with the Memorandum of Understanding(MOU) signed by the 10 ASEAN member states and Korea at the 11th ASEAN-ROK Summit in 2007.


Its cooperation with ASEAN now covers trade, investment, tourism, science and technology, development cooperation and human resources development. ROK has set up a Special Cooperation Fund (SCF) for ASEAN-ROK projects.

Some of the on-going activities include the Research Project on the Establishment of Science and Technology Manpower Development System, International Cooperation Program for Industrialization in ASEAN, and the Technology Transfer Program in Agricultural Development. 

References:

"ASEAN-ROK relations." (Online). Available: http://www.mofat.go.kr/ENG/countries/regional/asean/overview/index.jsp?menu=m_30_60_40 Retrieved 8 October 2012.

"ASEAN-Korea relations." (Online). Available: http://www.aseansec.org/11849.htm Retrieved 8 October 2012.

"ความสัมพันธ์อาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี." หนังสือบันทึกการเดินทางอาเซียน กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ (สืบค้น  8 ตุลาคม 2555)

วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ASEAN - UNDP Relations : ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับสหประชาชาติ



ASEAN relations with the UN system started in 1972 with the United Nations Development Programme (UNDP) which became a dialogue partner in 1977, the only non-State body that formed part of today’s ASEAN Dialogue Partners.

ASEAN-UNDP ties were further strengthened with the launching of the ASEAN-UNDP Sub-regional Programme in 1977 that aimed to better assist ASEAN with its regional cooperation and integration efforts.


The first ASEAN-UN Summit was held in Bangkok on 12 February 2000, during which the issues of peace and security, human resources development and the future role of the United Nations in the region were discussed. It enhanced both the scope and scale of ASEAN-UN cooperation and subsumed cooperative arrangements with UNDP. 

The second Summit was held in New York on 13 September 2005, in which ASEAN leaders and the UN Secretary-General expressed in a joint communiqué the need to broaden ASEAN-UN cooperation, encompassing areas related to community-building, such as poverty alleviation, prevention and control of infectious diseases, disaster management, transnational issues, development, and peace and security.

ความร่วมมืออาเซียน- สำนักงานพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme :UNDP) ได้เริ่มขึ้นในช่วงปี 2513 (1970) และ UNDP ได้รับสถานะ Dialogue Partner ของอาเซียนในปี 2520 (1977) โดย UNDP สนับสนุนด้านการเงินและผู้เชี่ยวชาญเพื่อช่วยอาเซียนในส่วนของข้อริเริ่ม เกี่ยวกับความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ซึ่งต่อมาอาเซียนได้มีความร่วมมือระหว่างกันในเรื่องของอุตสาหกรรม เกษตรกรรมและป่าไม้ การคมนาคม และการเงิน ตลอดจนการพัฒนาอนุภูมิภาคต่างๆ ผ่านการเสริมสร้างขีดความสามารถ อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก UNDP เห็นว่า อาเซียนมีระดับการพัฒนาที่น่าพอใจและดีกว่าอนุภูมิภาคอื่นๆ จึงได้จำกัดการสนับสนุนลง ปัจจัยนี้ส่งผลให้อาเซียนริเริ่มการพิจารณาเรื่องของสถานะความสัมพันธ์ 

การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหประชาชาติ ครั้งที่ 1 ได้จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่12 กุมภาพันธ์ 2543 (2000) ในระหว่างการประชุม UNCTAD X โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์และสร้างการเชื่อมโยงที่ต่อ เนื่องระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียนกับสหประชาชาติ ที่ประชุมกำหนดแนวทางความร่วมมือ ระหว่างอาเซียน UN ที่ควรดำเนินต่อไป เช่น การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การลดช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจน และการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง และได้แลกเปลี่ยนความเห็นเรื่องสถานการณ์การเมืองและความมั่นคงภูมิภาค

การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหประชาชาติ ครั้งที่ 2 ได้จัดขึ้นที่ นครนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2548 (2005) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับ UN เพื่อให้อาเซียนเป็นที่ยอมรับมากยิ่งขึ้นในเวทีระหว่างประเทศ รวมทั้งเพื่อติดตามผลการประชุมสุดยอดครั้งที่ 1

โดยมีประเด็นหารือที่สำคัญ เช่น การสนับสนุนการพัฒนาและการขยายสมาชิกภาพของสภาความมั่นคงสหประชาชาติ (UNSC) ความร่วมมือเพื่อช่วยอาเซียนในการจัดตั้งประชาคมการเมืองความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจ และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนภายในปี 2015 ความร่วมมือในประเด็นเฉพาะ เช่น การจัดการภัยพิบัติ HIV/AIDs  ไข้หวัดนก และการสร้างสันติภาพและความมั่นคง 

References:
"ASEAN-UNDP relations." (Online). Available:http://www.asean.org/asean/external-relations/undp Retrieved 6 October 2012.
"ASEAN-UNDP relations." (Online). Available: http://www.un.org/wcm/content/site/chronicle/home/archive/issues2007/thecapacitytocare/pid/21654 Retrieved 6 October 2012.
"ความสัมพันธ์อาเซียน-สหประชาชาติ." หนังสือบันทึกการเดินทางอาเซียน กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ (สืบค้น  6 ตุลาคม 2555)
"ความสัมพันธ์อาเซียน-สหประชาชาติ."(Online). Available: http://aseansummit.mfa.go.th/14/thai/asea_summit_03-1.php อา เซียน-UNDP Retrieved 6 October 2012.

วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ASEAN - European Union Relations : ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป


ASEAN-European Union. ASEAN's relations with the European Union (EU), began in 1972. Relations were formalized in 1980 through the ASEAN-EC Cooperation Agreement. An ASEAN-EC Joint Cooperation Committee has been formed to assist ASEAN's programs on institutional linkages, environment, human resources development, scientific and technical exchanges, and narcotics control.The EU and ASEAN celebrated 30 years of diplomatic relations with a Commemorative Summit in Singapore on Thursday, 22 November 2007.

The “Nuremberg Declaration on an EU-ASEAN Enhanced Partnership” endorsed by the Foreign Ministers of the Association of Southeast Asian Nations (ASEAN) and the European Union (EU)at the 16th ASEAN-EU Ministerial Meeting in Nuremberg, Germany, on 15 March 2007, this Plan of Action (PoA) is drawn up to serve as the master plan for enhancing ASEAN-EU relations and cooperation in the medium term (2007-2012) in a comprehensive and mutually beneficial manner.  

อาเซียนและสหภาพยุโรปมีความสัมพันธ์ในระดับกลุ่มระหว่างกันมาเป็นเวลานานโดยสหภาพยุโรปเป็นประเทศคู่เจราจาอย่างไม่เป็นทางการของอาเซียนตั้งแต่ปี 2515 ต่อมาได้รับการพัฒนาสถานะเป็นคู่เจรจาอย่างเป็นทางการในปี 2520 และในโอกาสครบรอบ 30 ปี ในการสถาปนาความสัมพันธ์อาเซียนและสหภาพยุโรป ( ASEAN-EU Commemorative Summit) เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2550 ที่สิงคโปร์ สหภาพยุโรปและอาเซียนได้จัดทำปฏิญญานูเร็มเบิร์กว่าด้วยการเพิ่มพูนความเป็นหุ้นส่วนระหว่างสหภาพยุโรปกับอาเซียน (Nuremberg Declaration on the ASEAN-EU Enhanced Partnership) เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินความสัมพันธ์และความร่วมมือในอนาคตทั้งในด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม-วัฒนธรรม และความร่วมมือเพื่อการพัฒนาและได้ร่วมลงนามใน Joint Declaration on Cooperation to Combat Terrorism ในปี 2546 ซึ่งเป็นเอกสารหลักในการดำเนินความร่วมมือระหว่างกันในด้านการต่อต้านการก่อการร้าย นอกจากนี้สหภาพยุโรปยังเป็นสมาชิกของการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum:ARF)


References:
"ASEAN-EU relations." (Online). Available: http://www.aseansec.org/11829.htm  Retrieved 4 October 2012.
"Nuremberg Declaration on the ASEAN-EU Enhanced Partnership." (Online). Available: http://eeas.europa.eu/asean/docs/action_plan07.pdf  Retrieved 4 October 2012.
"ความสัมพันธ์อาเซียน-สหภาพยุโรป." หนังสือบันทึกการเดินทางอาเซียน กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ สืบค้น วันที่ 4 ตุลาคม 2555.