วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

The ASEAN Charter - กฎบัตรอาเซียน


ASEAN Charter
The ASEAN Charter serves as a firm foundation in achieving the ASEAN Community by providing legal status and institutional framework for ASEAN. It also codifies ASEAN norms, rules and values; sets clear targets for ASEAN; and presents accountability and compliance.

The ASEAN Charter entered into force on 15 December 2008. A gathering of the ASEAN Foreign Ministers was held at the ASEAN Secretariat in Jakarta to mark this very historic occasion for ASEAN.

With the entry into force of the ASEAN Charter, ASEAN will henceforth operate under a new legal framework and establish a number of new organs to boost its community-building process. 

In effect, the ASEAN Charter has become a legally binding agreement among the 10 ASEAN Member States. It will also be registered with the Secretariat of the United Nations, pursuant to Article 102, Paragraph 1 of the Charter of the United Nations.
 กฎบัตรอาเชียน
กฎบัตรอาเซียน เปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของอาเซียนที่จะทำให้อาเซียนมีสถานะเป็นนิติบุคคล เป็นการวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรให้กับอาเซียน โดยนอกจากจะประมวลสิ่งที่ถือเป็นค่านิยม หลักการ และแนวปฏิบัติในอดีตของอาเซียนมาประกอบกันเป็นข้อปฏิบัติอย่างเป็นทางการของประเทศสมาชิกแล้ว ยังมีการปรับปรุงแก้ไขและสร้างกลไกใหม่ขึ้น พร้อมกำหนดขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบขององค์กรที่สำคัญในอาเชียนตลอดจนความสัมพันธ์ในการดำเนินงานขององค์กรเหล่านี้ ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนให้สามารถดำเนินการบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวของประชาคมอาเซียน ให้ได้ภายในปี พ.ศ.2558 ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้
ทั้งนี้ผู้นำอาเซียนได้ลงนามรับรองกฎบัตรอาเซียน ในการประชุมสุดยอดยอดเซียน ครั้งที่ 13 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2550 ณ ประเทศสิงคโปร์ ในโอกาสครบรอบ 40 ของการก่อตั้งอาเซียน แสดงให้เห็นว่าอาเซียนกำลังแสดงให้ประชาคมโลกได้เห็นถึงความก้าวหน้าของอาเซียนที่กำลังจะก้าวเดินไปด้วยกันอย่างมั่นใจระหว่างประเทศสมาชิกต่าง ๆ ทั้ง 10 ประเทศ และถือเป็นเอกสารประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญที่จะปรับเปลี่ยนอาเซียนให้เป็นองค์กรที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลในฐานะที่เป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล ประเทศสมาชิกได้ให้สัตยาบันกฎบัตรอาเซียน ครบทั้ง 10 ประเทศแล้วเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน2551 กฎบัตรอาเซียนจึงมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค. 2551 เป็นต้นไป
วัตถุประสงค์ของกฎบัตรอาเซียน
วัตถุประสงค์ของกฎบัตรอาเซียน คือ ทำให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประสิทธิกาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเคารพกฎกติกาในการทำงานมากขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรอาเซียนจะให้สถานะนิติบุคคลแก่อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล (intergovernmental organization)
โครงสร้างและสาระสำคัญของกฎบัตรอาเซียน
กฏบัตรอาเชียน ประกอบด้วยบทบัญญัติ 13 หมวด 55 ข้อ ได้แก่
หมวดที่ 1 ความมุ่งประสงค์และหลักการของอาเซียน
Chapter 1 Purposes and Principles
หมวดที่ 2 สภาพบุคคลตามกฏหมายของอาเชียน
Chapter 2 Legal Personality
หมวดที่ 3 สมาชิกภาพ (รัฐสมาชิก สิทธิและพันธกรณีของรัฐสมาชิก และการรับสมาชิกใหม่)
Chapter 3 Membership
หมวดที่ 4 โครงสร้างองค์กรของอาเซียน
Chapter 4 Organs
หมวดที่ 5 องค์กรที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียน
Chapter 5 Entities Associated With ASEAN
หมวดที่ 6 การคุ้มกันและเอกสิทธิ์
Chapter 6 Immunities and Privileges
หมวดที่ 7 กระบวนการตัดสินใจ
Chapter 7 Decision-Making
หมวดที่ 8 การระงับข้อพิพาท
Chapter 8 Settlement of Disputes
หมวดที่ 9 งบประมาณและการเงิน
Chapter 9 Budget and Finance
หมวดที่ 10 การบริหารและขั้นตอนการดำเนินงาน
Chapter 10 Administration and Procedure
หมวดที่ 11 อัตลักษณ์และสัญลักษณ์
Chapter 11 Identity and Symbols
หมวดที่ 12 ความสัมพันธ์กับภายนอก
Chapter 12 External Relations
หมวดที่ 13 บทบัญญัติทั่วไปและบทบัญญัติสุดท้าย
Chapter 13 General and Final Provisions

References :
"ASEAN Charter." (Online). Available : http://www.aseansec.org/21861.htm  Retrieved 14 July 2012.
"กฎบัตรอาเซียน." (Online). Available : http://www.thai-aec.com/asean-charter Retrieved 14 July 2012.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น